การฝังเข็มและศาสตร์แพทย์แผนจีนดีอย่างไร

รักษาอาการปวดและอาการอื่นๆ ด้วยการฝังเข็มและศาสตร์แพทย์แผนจีน ปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ รักษาตามแนวทางธรรมชาติ ผลข้างเคียงน้อย และให้ผลการรักษาที่ดี

อย่าปล่อยให้อาการปวด และอาการไม่สบายมาจำกัดการใช้ชีวิตของคุณ

รักษาอาการปวดและอาการเจ็บป่วยอื่นๆตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยประหยัดค่ารักษาในระยะยาว ดีกว่ามารักษาเมื่ออาการเริ่มซับซ้อนแล้ว ถึงเวลานั้น ทั้งเสียเงิน เสียเวลา และเสียสุขภาพจิต

อาการและโรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มและศาสตร์แพทย์แผนจีนได้

ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก

ออฟฟิศซินโดรม

หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อม

ปวดเอว สะโพก

ปวดประจำเดือน

สลักเพชรจม ปวดชาร้าลงขา

กระดูกสันหลังคด

นอนไม่หลับ

กรดไหลย้อน

และอื่นๆ

Our review

Play Video

ตัวอย่างการรักษาคนไข้ที่มีอาการมือสั่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะเรื้อรังมากกว่า 30 ปี ต้องใช้ยาแก้ปวดทุกวัน วันละหลายเม็ด ปวดเอว ปวดเข่า

หลังจากรักษา การนอนหลับดีขึ้นมาก อาการมือสั่นลดลงชัดเจน ปวดศีรษะทุเลาลงมาก สามารถลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวดลงได้มาก ไม่มีอาการปวดเอวและปวดเข่า

Play Video

ตัวอย่างการรักษาจริงของคนไข้ที่มีอาการมือสั่น เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เขียนหนังสือลำบาก ไปหาแพทย์ปัจจุบันบอกว่าไม่มีทางรักษา ให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอาการ

หลังรักษา อาการมือสั่นลดลงชัดเจน โดยเฉพาะมือขวา อาการสั่นลดลง 90% สามารถเขียนหนังสือได้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต อาการสั่นของมือซ้าย ลดลงมากกว่าครึ่ง

การรักษาใช้วิธีการฝังเข็มควบคู่กับยาสมุนไพรจีน

ตัวอย่างการรักษาจริงของคนไข้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดมากกว่า 20 ปี คนไข้มีอาการตึงกล้ามเนื้อ เมื่อรักษาไปเรื่อยๆมากกว่า 10 ครั้ง อาการตึงกล้ามเนื้อลดลง แนวกระดูกสันหลังมีการปรับตัวตรงขึ้น เคสนี้ใช้รักษาโดยการฝังเข็มอย่างเดียวไม่มีหัตถการอื่น

ตัวอย่างเคสการรักษาจริงของคนไข้กระดูกสันหลังคด (เอียง) ซึ่งพบได้มากในคนตัวสูง คนไข้อาจมีหรือไม่มีอาการผิดปกติหรือไม่สบาย เมื่อรักษาไปเรื่อยๆ กระดูกสันหลังมีการปรับตัวตรงขึ้น เคสนี้ในการรักษาโดยการฝังเข็มอย่างเดียวไม่มีหัตถการอื่น

รักษาโดยแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ

หมอเหมียว
แพทย์จีน ปรียนันท์ สุนทรปกรณ์กิจ

ประวัติการศึกษา

  • Bachelor Degree of Chinese Medicine from Shanghai University of Traditional Chinese Medicine
  • Thailand’s Healing Art License เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ : พจ.783

ประวัติการอบรม

  • Zhu’s Scalp Acupuncture Basic Course
  • Zhu’s Scalp Acupuncture for Nerve System Treatment Course
  • Chinese Martial Arts Yang’s Style Taichi Advance Practitioner

ประวัติการทำงาน

  • Yueyang Hospital , Shanghai China
  • โรงพยาบาลมหาชัยเพชรรัชต์ จังหวัดเพชรบุรี

About Dr Miao

ประวัติการศึกษา

Education

  • Bachelor Degree of Chinese Medicine from Shanghai University of Traditional Chinese Medicine
  • Thailand’s Healing Art License
    เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ : พจ.783

ประวัติการอบรม

Training

  • Zhu’s Scalp Acupuncture Basic Course
  • Zhu’s Scalp Acupuncture for Nerve System Treatment Course
  • Chinese Martial Arts Yang’s Style Taichi Advance Practitioner

ประวัติการทำงาน

working experience

  • Yueyang Hospital , Shanghai China
  • โรงพยาบาลมหาชัยเพชรรัชต์ จังหวัดเพชรบุรี

Our License

Services and Fees

ต้องรักษากี่ครั้งถึงจะหาย

  • ในเคสที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรมมาไม่นาน (ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี) การรักษามักใช้เวลา 1-3 ครั้ง ก็สามารถทำให้หายปวด จนกลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้ปกติ
  • หากคนไข้เป็นมานาน เรื้อรัง อายุมาก และมีโรคประจำตัว การรักษามักจะมากกว่า 3 ครั้ง โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็น การตอบสนองต่อการรักษา ความถี่ในการมารักษาตามนัด

การรักษามักจะอยู่ที่ 6-12 ครั้ง มารักษาตามนัดทุกๆ 5-7 วัน (อย่างน้อยที่สุดคือ อาทิตย์ละครั้ง) สามารถลดการใช้ยาแก้ปวด ลดโอกาสที่ต้องผ่าตัดได้อย่างมาก

การรักษามักจะมากกว่า 12 ครั้ง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็น ยิ่งเป็นมานาน และเรื้อรัง ยิ่งใช้เวลาในการรักษา และอาจมีการจ่ายยาสมุนไพรจีนเพื่อบำรุงร่างกายร่วมด้วย (ค่าสมุนไพรจีนแบบสกัดเข้มข้นแล้วมาชง อาทิตย์ละ 1,000 – 2,000 บาท)

การรักษาอย่างน้อยอยู่ที่ 3-6 เดือน โดยมารักษาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง (แนะนำระยะความถี่ที่แนะนำคือ ทุกๆ 5-7 วัน) และอาจมีการจ่ายยาสมุนไพรจีนร่วมด้วย โดยยาสมุนไพรจีนแบบชง อยู่ที่อาทิตย์ละ 1,000 – 2,000 บาท หากเป็นยาเม็ด อยู่ที่อาทิตย์ละ 200-400 บาท

และอาการอื่นๆสามารถสอบถามเพิ่มเติม ทางไลน์ @drmiao หรือ โทร 087-996-9666

ในเคสที่เป็นมาเรื้อรังเกิน 5-10 ปีขึ้นไป อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถทุเลาอาการต่างๆ และเพิ่มคุณภาพในการใช้ชีวิตของคนไข้ได้ คนไข้จำเป็นต้องทำความเข้าใจตามความเป็นจริง

ผลการรักษาขึ้นอยู่กับอายุคนไข้ ระยะเวลาที่เป็น โรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของคนไข้ รวมทั้งความให้การร่วมมือมารักษาตามนัด ความถี่ในการมารับการรักษา และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน

Fact about TCM

ทำความเข้าใจเรื่องการฝังเข็มและศาสตร์แพทย์แผนจีน

เรื่องจริงของศาสตร์แพทย์จีน แก้ความเข้าใจผิด ให้เป็นถูก

หมอเหมียวจะมาไขข้อข้องใจให้คนไข้ เป็นคำถามยอดฮิตที่หมอเหมียว(หรือแพทย์จีนท่านอื่นๆ)ถูกถามบ่อยๆ คิดว่ารวบรวมมาตอบในโพสต์นี้เลยดีกว่าค่ะ

  1. การฝังเข็ม เข็มที่ใช้มียามั้ย แล้วรักษาโรคได้อย่างไร

ตอบ ที่ปลายเข็มของเข็มที่ใช้ฝังเข็มไม่มียาใดๆทั้งสิ้น เป็นเข็มที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่มีการนำมาใช้ซ้ำ บรรจุกล่องผ่านขั้นตอนทำให้ปราศจากเชื้อ มีวันหมดอายุชัดเจน

ที่สามารถรักษาโรคได้ก็เพราะการฝังเข็มคือการรักษาภายใต้ทฤษฏีแพทย์แผนจีน เน้นการรักษาแบบองค์รวม ช่วยปรับฟังค์ชั่นการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ให้ทำงานกันสมดุลมากขึ้น อาการหรือโรคต่างๆจึงทุเลาลง

  1. ยาจีนมีสเตียรอยด์หรือไม่

ตอบ ยาสมุนไพรจีนโดยตัวมันเองไม่มีสเตียรอยด์ (อาจมียาจีนบางตัวที่มีสเตียรอยด์ตามธรรมชาติ แต่อยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆๆๆๆ อารมณ์เหมือนร่างกายเราหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ที่ออกฤทธิ์คล้ายสเตียรอยด์)

เมื่อผ่านกรรมวิธี ผลิตเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาผง หรือยารูปแบบอื่นๆ ก็ไม่มีการผสมสเตียรอยด์เช่นกัน

การใช้ยาสมุนไพรจีนภายใต้ทฤษฎีแพทย์แผนจีน เมื่อวินิจฉัยคนไข้แม่นยำ เลือกใช้สูตรยาที่เหมาะสม ฤทธิ์ของยาสมุนไพรจีนนั้นดีมากพอที่จะปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะภายใน (หลักการรักษาแบบองค์รวมเหมือนการฝังเข็ม แค่เปลี่ยนเครื่องมือจากเข็มเป็นยาสมุนไพรจีน)

ไม่จำเป็นต้องผสมสเตียรอยด์เพื่อให้คนไข้อาการดีขึ้น (จริงๆแล้วสเตียรอยด์ก็คือมีทั้งประโยชน์ทางการแพทย์มากและผลข้างเคียงในการรักษา การเลือกใช้ต้องดูที่อาการและความจำเป็น)

ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพรจีนคือไม่ควรใช้แบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะพื้นฐานร่างกายของแต่ละคนอาจไม่ได้เหมาะที่จะใช้ยาแบบเดียวกัน ควรระวังซื้อยาจีนจากคนที่อ้างตัวเป็นแพทย์จีนที่ไม่ได้เป็นแพทย์จีนจริงๆ (อาจมาในรูปแบบการเดินเคาะประตูตามบ้าน) ทำให้โดนหลอก ต้องจ่ายค่ายาที่แพงเกินความจริงมากๆแล้วยังเป็นโทษต่อร่างกายแทนที่จะเป็นประโยชน์

  1. หมอจีนคือหมอแมะ ยื่นมือมาให้จับชีพจร รู้เลยมั้ยฉันป่วยเป็นอะไร

ตอบ ถ้าหากว่าเป็นหมอจีนที่มีประสบการณ์ในการรักษามานาน ก็อาจมีความสามารถนั้น แต่การจะวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นอะไรนั้น ต้องอาศัยข้อมูลด้านต่างๆที่รวบรวมจากคนไข้มาวิเคราะห์สาเหตุแห่งโรค

ทั้งการดูสีหน้า ลิ้น ท่าทาง อิริยาบถต่างๆ การฟังเสียงคนไข้ เสียงหายใจ การได้กลิ่น อาจจะเป็นกลิ่นเฉพาะของคนไข้ (ไม่ได้หมายถึงว่าไม่อาบน้ำแล้วมีกลิ่นตัวนะคะ เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวานก็อาจมีกลิ่นเฉพาะของคนที่เป็นเบาหวาน) การสัมผัส เช่น ชีพจร กล้ามเนื้อ ก้อนเนื้อต่างๆ การสอบถามพูดคุยถึงอาการ ประวัติความเจ็บป่วยของตนเอง ของคนในครอบครัว (บางโรคกรรมพันธุ์ก็มีส่วน)

 

คนไข้หลายคนอยากทดสอบหมอ มาถึงก็ยื่นมือมาให้ แล้วบอกว่าแมะให้ทีว่าฉันป่วยเป็นอะไร หมอเหมียวอยากบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก (อาจติดภาพมาจากหนังจีนสมัยก่อน) คงไม่มีคนไข้คนไหนอยากฝากการรักษาไว้ที่การแมะอย่างเดียวหรอกค่ะ การที่คนไข้ให้ข้อมูลกับหมออย่างครบถ้วน ก็ยิ่งเป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยโรค ดังนั้นอยากให้เข้าใจใหม่ตั้งแต่นี้

  1. การรักษาโดยแพทย์แผนจีน รักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ การรักษาโดยศาสตร์แพทย์แผนจีนนั้นไม่ขัดแย้งกับการรักษาโดยศาสตร์แพทย์แผนปัจจุบัน โดยที่คนไข้ก็ต้องมีวินัยในการไปหาหมอและดูแลตัวเองเช่นกัน

เช่น การรักษาโรคมะเร็งโดยศาสตร์แพทย์แผนจีนร่วมกับการทำคีโม หลังทำคีโมคนไข้อาจมีภาวะกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ท้องผูก ความอยากอาหารลดลง แพทย์แผนจีนก็สามารถมาช่วยแก้ปัญหาให้คนไข้ในด้านนี้ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่ทิ้งการรักษาแบบหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายตัวที่สุด ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของการรักษาโดยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ศาสตร์แพทย์แผนจีนนั้นเน้นการรักษาแบบธรรมชาติ ทำให้ผลข้างเคียงน้อย แต่ในบางครั้งก็อาศัยเวลาและการให้ความร่วมมือจากคนไข้ โดยการมารักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด การฝังเข็มหรือการทานยาจีนจึงต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง

และในเมืองไทยการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการรักษาโดยศาสตร์แพทย์แผนจีนมีข้อจำกัด สิทธิข้าราชการสามารถเบิกได้บางส่วน ยาสมุนไพรจีนยังไม่สามารถเบิกได้ และบางเงื่อนไขไม่สามารถเบิกประกันได้ แต่หากเทียบค่ารักษากับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจถูกกว่า

การตรวจโรคที่บางอย่างต้องอาศัยการตรวจของศาสตร์แพทย์แผนปัจจุบันเพิ่มเติม เช่น การตรวจภายใน การตรวจโรคหัวใจ เส้นเลือดในหัวใจ/สมองตีบตัน ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน แพทย์จีนก็ต้องแยกแยะและให้คำแนะนำคนไข้ให้เหมาะสม หรือคนไข้ที่จำเป็นต้องผ่าตัด ก็ต้องแนะนำคนไข้อย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน

  1. หากต้องการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง

อย่างน้อยต้องเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีใบประกอบโรคศิลปะของกระทรวงสาธารณสุข เพราะถือว่าผ่านมาตรฐานการเรียน การทดสอบ มีความรู้ ความสามารถที่จะใช้ในการรักษาคนไข้ได้

สามารถรักษาที่คลิกนิกใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกและความต่อเนื่องในการรักษา ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

TCM Education

ไขข้อข้องใจ เรื่องการครอบแก้ว หลายคนคงคุ้นเคยและเคยเห็นผ่านตามาบ้างแล้ว การครอบแก้วคืออะไร แล้วช่วยอะไรได้บ้าง เจ็บมั้ย อ่านโพสต์นี้มีคำตอบค่ะ
อาการของโรคกระดูกต้นคอเสื่อมที่ชัดๆคือ ปวดคอ เคลื่อนไหวตัวได้ยาก และจะปวดมากขึ้นเวลานั่งหรือยืน
กล้ามเนื้อก้นหนีบเส้นประสาท อีกหนึ่งโรคที่อาการคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (คนไข้ส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า สลักเพชรจม)

“Begin your journey to a better life with peace, love, beauty, and happiness”

Our Clinic

Contact us

Address

บ้านหมอเหมียวคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน
379 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
จากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีห้วยขวาง ประตูทางออกที่ 1
ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ เดินเข้ามา 600 เมตร

Business Hours

อังคาร - เสาร์ 10.30 - 20.30 น.
อาทิตย์ 12.00 - 18.00 น.
หยุดทุกวันจันทร์

Phone

087-996-9666

Line

@drmiao

Facebook

บ้านหมอเหมียวคลินิกการแพทย์แผนจีน

Email

info@drmiaoclinic.com